6.หนังตะลุง
หนังตะลุงเป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สำคัญของภาคใต้
ตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง
นอกจากจะให้ความบันเทิงแล้ว ยังได้สอดแทรกการศึกษา คติธรรม จริยธรรม
จากเหตุการณ์ข่าวสาร การเมือง ยังมีการแต่งเรื่อง ผูกคำกลอน คิดบทสนทนาสดๆ
อยู่ตลอดเวลา โดยนายหนังจะแสดงความสามารถที่ถือเป็นอัจฉริยะส่วนตัวของนายหนังบวกกับการฝึกฝนจนมีความชำนาญ
จึงสามารถแสดงหนังตะลุงให้ประทับใจผู้ชมได้
ความเป็นมาของหนังตะลุงเป็นสิ่งที่ไม่มีหลักฐานชัดเจน
จากหลักฐานที่มีการบันทึก
หนังตะลุงเป็นการละเล่นที่เพิ่งมีการประดิษฐ์ขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยชาวบ้านที่บ้านควนพร้าว จังหวัดพัทลุง
ได้เลียนแบบมาจากหนังของชวาเปลี่ยนเป็นการแสดงเรื่องไทยๆ
และมีการแสดงถวายหน้าพระที่นั่งเป็นครั้งแรกในสมัยรัชการที่ 5 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ก็เป็นที่รู้จักกันในนามของหนังพัทลุงหรือหนังตะลุง
การแสดงหนังตะลุงจะแสดงโดยการเชิด “ตัวหนัง” และ “พากย์หนัง” โดยที่นายหนังจะวางตัวหนังที่มีลักษณะแบนราบทาบกับจอผ้า
มีแสงไฟส่องมาจากด้านหลังตัวหนัง ทำให้ปรากฏอีกด้านหนึ่งของจอที่มีคนนั่งอยู่
ส่วนบทที่ใช้ในการแสดงขึ้นอยู่กับคณะที่จัดแสดงหนังตะลุง และให้นายหนังเป็นผู้เชิดและพากย์บทพูดของแต่ละตัวละคร
นายหนังจะใช้บทพูดสนทนาสดๆ สอดแทรกมุขตลก ความรู้ และคติ จากเนื้อเรื่องที่กำกับมา
และเรื่องที่ใช้ในการแสดงนั้น จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ข่าวสารบ้านเมือง
เหตุการณ์ในท้องถิ่น การล้อเลียนทางการเมือง ฯลฯ ความสามารถและไหวพริบในการเชิดและการพากย์ของนายหนังจะทำให้หนังตะลุงน่าดูและสนุกยิ่งขึ้น
รูปหนังตะลุงแบ่งเป็น 5 กลุ่ม คือ รูปครู รูปศักดิ์สิทธิ์ รูปชั้นสูง รูปตัวตลก
รูปกากและ
เบ็ดเตล็ด รูปตัวตลกจะมีความสำคัญต่อหนังตะลุงเป็นอย่างมาก
เพราะตัวตลกจะมีบทบาทเป็นตัวช่วยพระเอก นางเอก หรืออยู่ฝ่ายธรรมะ สามารถนำศีลธรรม
สภาพสังคม เหตุการณ์บ้านเมืองมาสอดแทรกคติเตือนใจผู้ชม
ทำให้ผู้ชมหนังตะลุงมีอารมณ์ขันสนุกสนาน รูปหนังตะลุงตัวตลกที่เป็นที่รู้จักกันดี
เช่น ไอ้หนูนุ้ย ไอ้ยอดทอง ไอ้เท่ง ไอ้สะหม้อ ไอ้สีแก้ว
ผู้ใหญ่พูน เป็นต้น
เนื้อหาดีค่ะ แต่อักษรเล็กไปหน่อย
ตอบลบควรอนุรักษ์ทำนุบำรุงใว้ เยี่ยมมากกค่ะ
ตอบลบ