2.รองเง็ง
รองเง็ง การเต้นรองเง็งสมัยโบราณ เป็นที่นิยมกันในบ้านขุนนาง
หรือเจ้าเมืองในสี่จังหวัดชายแดน เดิมการเต้นรองเง็งจะมีลีลาตามบทเพลงไม่น้อยกว่า 10 เพลง แต่ปัจจุบันนี้ที่นิยมเต้นมีเพียง 7 เพลงเท่านั้น
วิธีการแสดง
การเต้นรองเง็ง ส่วนใหญ่มีชายหญิงฝ่ายละ 5 คน
โดยเข้าแถวแยกเป็นชายแถวหนึ่งหญิงแถวหนึ่งยืนห่างกันพอสมควร
ความสวยงามของการเต้นรองเง็งอยู่ที่ลีลาการเคลื่อนไหวของเท้า มือ ลำตัว
และลีลาการร่ายรำ ตลอดจนการแต่งกายของคู่ชายหญิง และความไพเราะของดนตรีประกอบกัน
การแต่งกาย
ผู้ชายแต่งกายแบบพื้นเมือง
สวมหมวกไม่มีปีกหรือใช้หมวกแขกสีดำ นุ่งกางเกงขายาวกว้างคล้ายกางเกงจีน
สวมเสื้อคอกลมแขนยาวผ่าครึ่งอกสีเดียวกับกางเกง
ใช้โสร่งยาวเหนือเข่าสวมทับกางเกงเรียกว่า ซอแกะ
เครื่องดนตรีและเพลงประกอบ ดนตรีที่ใช้ประกอบการเต้นรองเง็ง มี 3 อย่าง คือ
1. รำมะนา
2. ฆ้อง
3. ไวโอลิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น